โซล่าร์รูฟท็อบ (Solar Rooftop) คืออะไร?
โซล่าร์รูฟท็อบ คือ ระบบที่เปลี่ยนพลังงานจากพลังงานแสงอาทิตย์มาเป็นพลังงานไฟฟ้าโดยใช้อุปกรณ์ที่ เรียกว่า แผงโซล่าเซลล์ หรือที่คนทั่วไปเรียกว่า แผงพลังงานแสงอาทิตย์ ที่ติดตั้งบนหลังคาที่พักอาศัย โรงงานอุตสหกรรม หรือตามอาคารต่าง ๆ เพื่อรับพลังงานแสงอาทิตย์แล้วเปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง ( DC ) ก่อนส่งไปยังเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า ที่เรียกว่า inverter เพื่อเปลี่ยนจากไฟฟ้า กระแสตรงเป็นไฟฟ้ากระแสลับ ( AC ) แล้วนำพลังงานไฟฟ้าที่ได้ไปใช้งาน โดยใช้เองภายในอาคารโรงงาน หรือนำไปจำหน่ายให้กับหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนต่อไป
ประโยชน์ของการติดตั้งโซล่าร์รูฟท็อบ (Solar Rooftop)
– ประโยชน์โดยตรงต่อเจ้าของอาคาร
ในกรณีที่ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้ในอาคารของตนเอง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เคยให้กับการไฟฟ้าสามารถผลิตขายให้กับเอกชนเป็นการสร้างรายได้พิเศษให้แก่เจ้าของอาคาร และแผงโซล่าเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ ช่วยบังแสงอาทิตย์ที่ตกกระทบหลังคา ช่วยลดความร้อนบนหลังคา และลดการทำงานของเครื่องปรับอากาศ ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ดี
โซล่าร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) เหมาะสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทใด?
ลักษณะการใช้ไฟฟ้า (Load Profiles) ของผู้ใช้ไฟฟ้ามีความแตกต่างกัน ผู้ใช้งานที่มีการใช้ไฟฟ้ามากในช่วงเวลาที่มีการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์มากที่สุด หรือ ช่วงเวลากลางวัน จะได้ประโยชน์เต็มที่จากการไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบโซล่าร์รูฟท็อบของตนเอง ที่ได้ใช้ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน ซึ่งจะได้ราคาไฟฟ้าคงที่ในส่วนที่ PV ผลิตได้ ระบบโซล่าร์รูฟจะช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของผู้ใช้ได้
การใช้งานและการบำรุงรักษาโซล่าร์รูฟท็อบ
1. การใช้งาน
– ห้ามปลดสายไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ ในระยหว่างที่มีการจ่ายกระแสไฟฟ้าอยู่เพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟซึ่งจะเป็นอันตรายและเป็นสาเหตุการเกิดเพลิงไหม้ได้
– การทำงานบริเวณเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าด้านขาออก ควรใช้ความระมัดระวังระกับสูงเนื่องจากเป็นกระแสสลับ
2. การบำรุงรักษา
– ตรวจสอบหลังคาว่าไม่มีจุดรั่วซึม และระบบระบายน้ำบนหลังคาว่าไม่มีสิ่งใดขวางทางน้ำ
– เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดควรทำความสะอาดแผงด้วยน้ำสะอาด ปีละ 2 ครั้ง เช่น ครั้งที่1 เดือนกุมภาพันธ์ ครั้งที่ 2 เดือนธันวาคม
– ตรวจสอบแผงไม่ให้มีรอยแตกหรือร่องรอยน้ำซึมเข้าด้านในแผง และการบังของเงากิ่งไม้บนแผงโซล่าเซลล์
– ถ้ามีสิ่งสกปรกให้ใช้ฟองน้ำทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า ไม่ควรใช้แปลงโลหะหรือสารเคมีในการทำความสะอาด
– ตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างรองรับแผงรวมถึงการกัดกร่อนและสนิมจุดต่อสายไฟฟ้า สภาพฉนวน ทุก 6 เดือน โดยเฉพาะก่อนฤดูมรสุม
5 เหตุผล ทำไมถึงควรติด
SOLAR ROOFTOP
1. พลังงานแสงอาทิตย์ดีต่อสิ่งแวดล้อม
พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานสะอาดจากธรรมชาติ ที่ไม่มีวันหมด โดยการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นวิธีที่ดีอีกวิธีหนึ่ง ในการลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก (Carbon Footprint) โดยไม่มีส่วนไหนในการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่ทำลายธรรมชาติและทรัพยากร ไม่มีการปล่อยแก๊สใดๆ นอกจากการที่ต้องใช้น้ำในการล้างแผงโซล่าเซลล์เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกจากนี้การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ไม่มีต้นทุนค่าเชื้อเพลิง เพียงแค่ตั้งแผงโซล่าเซลล์ตากแดดเอาไว้เฉยๆ ก็ได้พลังงานไฟฟ้าแล้ว จึงเป็นทางเลือกที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมมากๆ เทียบกับการใช้น้ำมันและถ่านหินในการผลิตไฟฟ้า
2.ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้
ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดของการติด Solar Rooftop คือ สามารถช่วยลดค่าไฟได้ เนื่องจากสามารถผลิตไฟใช้เองได้ จึงจ่ายค่าไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกินมาจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตเองได้ หรือหากมีการใช้งานน้อยกว่าที่โซล่าเซลล์ผลิตได้ ก็ยังสามารถขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยทั่วไปแล้วการติดตั้งโซล่าเซลล์ จะใช้เวลาประมาณ 7-8 ปี หลังการติดตั้งในการคืทุน แปลว่าในปีที่ 9 จนถึงสิ้นอายุการใช้งานของโซล่าเซลล์ ซึ่งอยู่ที่ 25 ปี ผู้ที่อยู่อาศัยก็เหมือนได้ใช้ไฟฟ้าฟรีนั่นเอง นอกจากนี้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในทุกวันนี้ถูกผลิตจากน้ำมันและถ่ายหินที่มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้ค่าไฟฟ้ามีราคาขึ้นลงอยู่ตลอด ทั้งตามราคาน้ำมัน และตามช่วงเวลาต่างๆ ของวัน ทำให้รายจ่ายของเรานั้นไม่คงที่ และไม่สามารถควบคุมได้ ถ้าหากติดโซล่าเซลล์ จะช่วยให้เราสามารถควบคุมรายจ่ายในส่วนของค่าไฟฟ้าได้
3. ใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ไม่ได้ถูกใช้งาน
เมื่อคุณมีพื้นที่บนหลังคา หรือบนดาดฟ้าของคุณซึ่งไม่เคยถูกใช้งานเลย ถ้าคุณสามารถเปลี่ยนพื้นที่ที่ไม่เคยใช้ประโยชน์นั้น มาเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าของบ้านได้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และยังสามารถขายไฟที่เหลือให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย
4. คนอื่นไฟดับ เราไม่ดับ
เมื่อเรามีโซล่าเซลล์ติดที่บ้านของเรา ก็เหมือนมีโรงงานไฟฟ้าขนาดย่อมในบ้านของเรา ถ้าหากมีแสงอาทิตย์บ้านของเราก็จะมีไฟฟ้าใช้เสมอ แม้แต่การไฟฟ้าจะขัดข้อง ไฟดับ หรือเกิดภัยทางธรรมชาติทำให้สายไฟฟ้าภายนอกบ้านขาดชำรุด การติดโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ยังสามารถช่วยลดการสูญเสียของกำลังไฟระหว่างการส่งไฟจากโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ผ่านสายไฟอันยาวเหยียดอีกด้วย การมีแหล่งไฟฟ้าใกล้ตัวบ้าน เช่น การติดโซล่าร์รูฟท็อบ ทำให้การผลิตและใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น
5. ลดความร้อนภายในบ้าน
นอกจากการติดตั้งโซล่าเซลล์บนหลังคานั้นจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ ยังสามารถลดความร้อนให้กับบ้านได้อีกด้วย จึงทำให้สามารถลดปริมาณการใช้เครื่องปรับอากาศ และประหยัดค่าไฟฟ้าได้
อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อนคืออะไร ทำไมอินเวอร์เตอร์ทุกตัวต้องมี
อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อน (Zero Export Controller)
หรือตัวหรี่ของอินเวอร์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่แก้ไขปัญหาการ Relay Protection ที่ตรวจจับกระแสการไหลย้อนกลับ แล้วสั่งตัดที่เมนเบรกเกอร์ของ MDB ระบบโซล่าเซลล์
สรุปรวมๆ คือ ฟังก์ชั่น Zero Export ย้อนกลับต้องเป็นศูนย์ หรือตัวหรี่กำลังการผลิตของอินเวอร์เตอร์ ให้เป็นไปตามสภาวะการใช้ไฟฟ้าของโหลด (อุปกรณ์ไฟฟ้า) รวมภายในบ้าน บริษัท หรือโรงงานที่ติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในช่วงขณะเวลาสั้นๆ ซึ่งแบรนด์ผู้ผลิต อาจเรียกต่างกัน เช่น Smart Sensor , Energy
การเลือกใช้ Zero Export เพราะต้นทุนถูกกว่า แต่ก็ต้องดูด้วยว่า อินเวอร์เตอร์ และ Zero Export ขึ้น List MEA (กฟน.) แล้วต้องยื่น Data Sheet ของ CT ที่นำมาใช้งานด้วย ซึ่งข้อดีของ Zero Export คือหากไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์เหลือ ก็ไม่ไหลย้อนกลับ จนไปตัดเมนเบรกเกอร์ของโซล่าเซลล์
โดย MEA ออกข้อกำหนดในการขอขนานไฟต้องติด “อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าไหลย้อนกลับ” สำหรับผู้ที่ติดโซล่าเซลล์ใช้เอง
MEA แจ้งว่า สำหรับขอขนานแรงต่ำ ถ้าขุดติดตั้งไม่เกิน 15% ของพิกัดหม้อแปลงจำหน่าย ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการไหลย้อน แต่ถ้าเกิน 15% ต้องติดอุปกรณ์กันย้อน ซึ่งอุปกรณ์ที่ถูกกฎการไฟฟ้าฯ มี 2 ชนิดคือ Reverse Power Relay และ Zero Export Controller ส่วนการขอขนานแรงสูงต้องมีอุปกรณ์ป้องกันทุกกรณี
ตัวกันไฟย้อน (Smart Power Sensor) ทำหน้าที่อะไร
ตัวกันไฟย้อนหรือตัวกันย้อน
ตัวกันย้อนถ้าอยู่ในระบบโซล่าเซลล์ออนกริด ตัวกันไฟย้อนจะใช้งานควบคู่กับหม้อแปลงกระแส CT โดย CT จะทำหน้าที่เป็นเซนเซอร์ตรวจสอบการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เข้ามายังสายไฟเมนแล้วส่งสัญญาณไปที่ตัวกันย้อน เพื่อควบคุมการจ่ายไฟของอินเวอร์เตอร์ให้เข้ากับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน
การต่อตัวกันไฟย้อน HUAWEI 1 เฟส เข้ากับไฟเลี้ยง, CT และ อินเวอร์เตอร์
การต่อตัวกันไฟย้อน HUAWEI 3 เฟส เข้ากับไฟเลี้ยง, CT และ อินเวอร์เตอร์